วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2551

ไตธรรมชาติ ปรับปรุงบึงมักกะสันตามแนวพระราชดำริ

ทรงเยี่ยมชมความก้าวหน้าโครงการปรับปรุงบึงมักกะสัน ได้พระราชทานเอกสารที่ทรงเรียกว่า “แถลงการณ์” ระบุถึงหลักการสำคัญของโครงการปรับปรุงบึงมักกะสันที่ทรงเน้นให้เป็นแหล่งบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีธรรมชาติโดยใช้ผักตบชวาที่ทรงเปรียบเทียบเป็นไตธรรมชาติของกรุงเทพมหานคร และเป็นแหล่งกักเก็บและระบายน้ำในฤดูฝน ทั้งยังมีผลพลอยได้หลายอย่างจากผักตบชวา เช่น ปุ๋ยหมัก เชื้อเพลิง และการปลูกพืชน้ำอื่น ๆ เช่น ผักบุ้ง รวมทั้งการเลี้ยงปลา โดยมิได้มีพระราชประสงค์ให้ทำเป็นสวนสาธารณะ แต่ทรงเน้นให้ปรับปรุงบึงมักกะสันเป็น “โครงการแซยิด”
ของพระองค์
สาธิตการจัดการน้ำเสีย: โครงการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย เมืองสกลนคร (หนองสนม)

ทรงทอดพระเนตรสภาพน้ำเสียจากชุมชนที่ไหลลงไปยังหนองสนม มีพระราชดำริว่า “ลำพังการใช้ผักตบชวาเพื่อกำจัดน้ำเสียภายในหนองสนมเพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถทำให้คุณภาพของน้ำดีขึ้นเท่าที่ควร อีกทั้งปริมาณน้ำเสียจากแหล่งชุมชนจะไหลผ่านคลองระบายลงสู่หนองโดยตรง ซึ่งจะทำให้ตะกอนและสิ่งสกปรกต่าง ๆ เข้าไปทับถมอยู่ในบริเวณหนองสนม อันเป็นเหตุให้หนองสนมตื้นเขินและเกิดการเน่าเสียมากขึ้น

แก้ปัญหาโลกร้อน : ศึกษาวิจัยการผลิตออกซิเจนของต้นไม้

แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหานี้ ทรงมีแนวทางที่จะใช้วิธีทางธรรมชาติเข้าแก้ไขธรรมชาติด้วยกันเอง โดยมีพระราชดำริให้นักวิชาการ หรือ ศูนย์ศึกษาฯ ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยหาปริมาณของออกซิเจนที่ต้นไม้ผลิตออกมาและศึกษาว่าพืชชนิดใด จะสามารถผลิตออกซิเจนได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือ การศึกษาหาปริมาณคาร์บอนในพืชต่าง ๆ เนื่องจากพื้นที่เก็บคาร์บอนไว้นั้น ส่วนใหญ่จะมาจากคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อเป็นดังนี้ก็สามารถกำหนดจำนวนคาร์บอนได้ออกไซด์ที่พืชดูดซับเข้าไป และจำนวนออกซิเจนที่พืชคายออกมา และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันก็จะสามารถทราบได้ว่าพืชชนิดใดสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีกว่า หรือสามารถคายออกซิเจนได้มากที่สุด ก็จะส่งเสริมให้มีการปลูกต้นไม้ชนิดนั้นให้มาก ๆ เพราะนอกจากจะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศแล้ว ยังเพิ่มปริมาณออกซิเจนด้วย ซึ่งจะเป็นการบรรเทาปัญหากรีนเฮ้าส์เอฟเฟ็ค ได้วิธีหนึ่ง

เนื่องจากปัจจุบัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือมลภาวะเป็นพิษกำลังเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก ซึ่งเรื่องหนึ่งได้แก่การเผาผลาญอินทรีย์สารมากเกินไปทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นจำนวนมาก และไปห่อหุ้มโลกในชั้นบรรยากาศอันเป็นการปิดกั้นไม่ให้มีการระบายความร้อนเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งมีผลทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเกิดความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ และเป็นภัยอย่างร้ายแรง ดังที่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีความห่วงใยในปัญหานี้ ซึ่งเรียกว่า ปฏิกิริยาเรือนกระจก (Green House Effect)




ไม่มีความคิดเห็น: