วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ภูมิปัญญาท้องถิ่น 1


อุตสาหกรรมการทำตุ๊กตาจากผ้าซึ่งปัจจุบันได้ขยายเป็นอุตสาหกรรมส่งออก สามารถผลิตตุ๊กตาผ้าชนิดต่าง ๆ ส่งไปขายยังต่างประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท หากท่านเดินทางผ่านไปยังเมืองราชบุรี ก็จะพบเห็นร้านขายตุ๊กตาจากผ้าทึ่ทำจากฝีมือชาวเมืองราชบุรีกระจายอยู่สองข้างทางเข้าสู่ตัวเมือง(บริเวณบ้านสิงห์ อ.โพธาราม)

ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2

วัดขนอน เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่ครั้งโบราณ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง เขตตำบล สร้อยฟ้า อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นวัดที่มีความสำคัญในการสืบสานวัฒนธรรมไทย การเล่นหนังใหญ่มานานนับร้อย ๆ ปี ปัจจุบันงานอนุรักษ์และสืบสานหนังใหญ่แห่งวัดขนอนได้มีการกระทำกันอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา หนังใหญ่ถือเป็นศิลปะพื้นบ้านที่เก่าแก่มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และได้ถูกกระแสวัฒนธรรมอื่นที่เก่นกว่าบดบังศิลปะของชาติประเภทนี้ไป แต่บังเอิญที่วัดขนอนแห่งนี้ได้มีผู้ที่รักคุณค่าของศิลปะระพื้นบ้านโบราณของไทย จึงได้ช่วยกันอนุรักษ์และเก็บรักษางานศิลปะนี้เอาไว้ และได้มีการเผยแพร่ จนเป็นที่รู้จักกันเกือบทั่วไปในปัจจุบัน

ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3

ผ้าซิ่นตีนจก หรือผ้าซิ่นเชิงจก ของชาวบ้านคูบัว เมืองราชบุรี เป็นวัฒนธรรมที่ถูกสืบทอดกันมาในกลุ่มสตรีขาวลาวและไทยโยนกที่อพยพเข้ามาอยู่ที่บ้านคูบัวแห่งนี้เป็นลักษณะคล้ายลายผ้าซิ่นของชาวลับแล เมืองอุตรดิตถ์ และชาวศรีสัชนาลัย เมืองสุโขทัย ที่เรียกว่าลายยกมุก แต่ในบางครั้งก็เป็นการทอแบบมัดหมี่ผสมเช่นเดียวกับชาวอิสาน

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2551

ไตธรรมชาติ ปรับปรุงบึงมักกะสันตามแนวพระราชดำริ

ทรงเยี่ยมชมความก้าวหน้าโครงการปรับปรุงบึงมักกะสัน ได้พระราชทานเอกสารที่ทรงเรียกว่า “แถลงการณ์” ระบุถึงหลักการสำคัญของโครงการปรับปรุงบึงมักกะสันที่ทรงเน้นให้เป็นแหล่งบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีธรรมชาติโดยใช้ผักตบชวาที่ทรงเปรียบเทียบเป็นไตธรรมชาติของกรุงเทพมหานคร และเป็นแหล่งกักเก็บและระบายน้ำในฤดูฝน ทั้งยังมีผลพลอยได้หลายอย่างจากผักตบชวา เช่น ปุ๋ยหมัก เชื้อเพลิง และการปลูกพืชน้ำอื่น ๆ เช่น ผักบุ้ง รวมทั้งการเลี้ยงปลา โดยมิได้มีพระราชประสงค์ให้ทำเป็นสวนสาธารณะ แต่ทรงเน้นให้ปรับปรุงบึงมักกะสันเป็น “โครงการแซยิด”
ของพระองค์
สาธิตการจัดการน้ำเสีย: โครงการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย เมืองสกลนคร (หนองสนม)

ทรงทอดพระเนตรสภาพน้ำเสียจากชุมชนที่ไหลลงไปยังหนองสนม มีพระราชดำริว่า “ลำพังการใช้ผักตบชวาเพื่อกำจัดน้ำเสียภายในหนองสนมเพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถทำให้คุณภาพของน้ำดีขึ้นเท่าที่ควร อีกทั้งปริมาณน้ำเสียจากแหล่งชุมชนจะไหลผ่านคลองระบายลงสู่หนองโดยตรง ซึ่งจะทำให้ตะกอนและสิ่งสกปรกต่าง ๆ เข้าไปทับถมอยู่ในบริเวณหนองสนม อันเป็นเหตุให้หนองสนมตื้นเขินและเกิดการเน่าเสียมากขึ้น

แก้ปัญหาโลกร้อน : ศึกษาวิจัยการผลิตออกซิเจนของต้นไม้

แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหานี้ ทรงมีแนวทางที่จะใช้วิธีทางธรรมชาติเข้าแก้ไขธรรมชาติด้วยกันเอง โดยมีพระราชดำริให้นักวิชาการ หรือ ศูนย์ศึกษาฯ ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยหาปริมาณของออกซิเจนที่ต้นไม้ผลิตออกมาและศึกษาว่าพืชชนิดใด จะสามารถผลิตออกซิเจนได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือ การศึกษาหาปริมาณคาร์บอนในพืชต่าง ๆ เนื่องจากพื้นที่เก็บคาร์บอนไว้นั้น ส่วนใหญ่จะมาจากคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อเป็นดังนี้ก็สามารถกำหนดจำนวนคาร์บอนได้ออกไซด์ที่พืชดูดซับเข้าไป และจำนวนออกซิเจนที่พืชคายออกมา และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันก็จะสามารถทราบได้ว่าพืชชนิดใดสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีกว่า หรือสามารถคายออกซิเจนได้มากที่สุด ก็จะส่งเสริมให้มีการปลูกต้นไม้ชนิดนั้นให้มาก ๆ เพราะนอกจากจะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศแล้ว ยังเพิ่มปริมาณออกซิเจนด้วย ซึ่งจะเป็นการบรรเทาปัญหากรีนเฮ้าส์เอฟเฟ็ค ได้วิธีหนึ่ง

เนื่องจากปัจจุบัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือมลภาวะเป็นพิษกำลังเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก ซึ่งเรื่องหนึ่งได้แก่การเผาผลาญอินทรีย์สารมากเกินไปทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นจำนวนมาก และไปห่อหุ้มโลกในชั้นบรรยากาศอันเป็นการปิดกั้นไม่ให้มีการระบายความร้อนเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งมีผลทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเกิดความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ และเป็นภัยอย่างร้ายแรง ดังที่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีความห่วงใยในปัญหานี้ ซึ่งเรียกว่า ปฏิกิริยาเรือนกระจก (Green House Effect)




ส่งงานอาจารย์มงคล

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ส่งงานอาจารย์มงคลครั้งที่ 1

1. คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึงหรือร่วมกัน
2. การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกนึกคิด
ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่ง

ซึ่งเรียกกว่า “ผู้ส่ง” ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้รับ”
3. Sender --> Message --> Channel --> Reciever
4. สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือ

แหล่งกำเนิด
5. Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อย ๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี
ตัวอย่าง เช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง เส้น เป็นต้น
6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อย ๆ มารวมกัน
ตัวอย่างเช่น คำ ประโยค หรือสีสันของรูปร่าง รูปทรง ฯลฯ
7. Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิดความต้องการของผู้ส่ง
ตัวอย่างเช่น ข้อมูลนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร สอดคล้องเหมาะสมกับอะไร จะวางแผนในการเข้ารหัสและจัดส่งอย่างไร แต่ละแนวทางอาจได้ผลที่แตกต่างกัน
8. Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัสและเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถถ่ายทอดความต้องการของผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างเช่น แผ่นใส, วีดีโอ, วีซีดี
9. Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ
ตัวอย่างเช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี ภาพวาด กิริยาท่าทาง ผู้ส่งสารจำเป็นต้องตัดสินใจว่าจะใช้

รหัสแบบใดจึงจะบรรลุเป้าหมายได้ดีที่สุด
10. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์ แสงแดด

ฝนสาด ฯลฯ
11. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายในเช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล

12. Encode หมายถึงการเข้ารหัส หรือแปลความต้องการของตนเป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่าง ๆ ได้
13. Decode หมายถึง การถอดรหัส หรือ แปลสัญญลักษณ์หรือสัญญาณเป็นความต้องการของผู้ส่ง
14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบภาพดังนี้
1. ครูในฐานะเป็นผู้ส่งและผู้กำหนดจุดมุ่งหายของระบบการสอน ครูจึงควรมีพฤติกรรมดังนี้
1.1 ต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอนเป็นอย่างดี
1.2 มีความสามารถในการสื่อความหมาย เช่น การพูด การเขียน ลีลา ท่าทาง ฯลฯ
1.3 ต้องจัดบรรยายกาศในการเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้
1.4 ต้องวางแผนจัดระบบการถ่ายทอดความรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
2. เนื้อหา, หลักสูตร ตลอดจนทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญที่ครู จะถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน ดังนั้น เนื้อหาควรมีลักษณะดังนี้
2.1 เหมาะสมกับเพศและวัยของผู้เรียน
2.2 สอดคล้องกับเทคนิค วิธีสอน หรือสื่อต่าง ๆ
2.3 เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกาลเวลา ควรปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
3. สื่อหรือช่องทาง เป็นตัวกลางหรือพาหะที่จะนำเนื้อหาจากครูผู้สอนเข้าไปสู่ภายในของผู้เรียน ลักษณะของสื่อควรเป็นดังนี้
3.1 มีศักยภาพเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหา
3.2 สอดคล้องกับธรรมชาติของประสาทสัมผัสแต่ละช่องทาง
3.3 เด่น สะดุดตา ดูง่าย สื่อความหมายได้ดี
4. นักเรียนหรือผู้เรียน เป็นเป้าหมายหลักของกระบวนการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจึงควรมีลักษณะดังนี้
4.1 มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสที่ 5
4.2 มีความพร้อมทางด้านจิตใจ อารมณ์มั่นคงปกติ
4.3 มีทักษะในการสื่อความหมาย
4.4 มีเจตคติต่อครูผู้สอนและเนื้อหาวิชา
15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
กระบวนการเรียนการสอนมักจะประสบความล้มเหลวบ่าย ๆ เนื่องจากอุปสรรคหลายประการดังนี้
1. ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดเป้าหมายในการเรียน
2. ครูผู้สอนไม่คำนึงถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน จึงมักใช้วีสอนแบบเดียวกันทุกคน
3. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศ ขจับอุปสรรคและสร้างความพร้อมให้แก่ผู้เรียนก่อนลงมือสอน
4. ครูผู้สอนบางคนใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจความหมายของคำ และเนื้อหาโดยรวม
5. ครูผู้สอนมักนำเสนอเนื้อหาวกวน สับสน รวดเร็ว ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่อง กระโดดไปมาทำให้เข้าใจยาก
6. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะใช้สื่อการสอนหรือเลือกใช้สื่อการสอนไม่เหมาะกับเนื้อหา และระดับของผู้เรียน
ดังนั้น ในกระบวนการเรียนการสอนจึงควรคำนึงถึงอุปสรรคต่าง ๆ และพยายามขจัดให้หมดไป เพื่อให้ผู้เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ส่งงานอาจารย์ชวนค่ะ


ชุดสาธิตนี้ได้นำเอาเกียร์อัตโนมัติเฉพาะในส่วนของทอร์คคอนเวอร์เตอร์และชุดเฟืองเพเนตารี่มาผ่าให้เห็นชิ้นส่วนและการทำงานภายในโดยใช้การต่อเชื่อมด้วยข้อต่อ มีการส่งกำลังผ่านชุดทอร์คคอนเวอร์เตอร์ โดยใช้คลัทช์จากฟรีของพัดลมหม้อน้ำ ผ่านมายังชุดเฟืองเพเนตารี่ได้ เชื่อมและยึดบนโครงติดตั้งมอเตอร์ปัดน้ำฝนและเฟืองฟรีจักรยานให้สามารถขับชุดทอร์คคอนเวอร์เตอร์ให้หมุนได้ และสามารถใช้หมุนด้วยมือ ก็ได้ ถ้าหมุนได้ความเร็วพอก็จะทำให้ทอร์คคอนเวอร์เตอร์อีกด้านหมุนตามไปด้วย ใช้มอเตอร์ปัดน้ำฝนซึ่งรอบเฟืองพอที่จะขับให้ชุดส่งกำลังทำงาน